เปิดทำการ

วันจันทร์ - ศุกร์ : 07.30 - 16.30 น.

วันเสาร์ : 08.30 - 14.30 น.

ติดต่อสอบถาม

โทร : 0-3827-6890-4

80/90 หมู่ 3 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000

ติดต่อสอบถาม

โทร : 0-3827-6890-4

เส้นทาง : Goolge Map

เปิดทำการ

จ-ศ : 07.30 - 16.30 น.

ส : 08.30 - 14.30 น.

ดาหลา

ชื่อพรรณไม้ : ดาหลา

ชื่อภาษาอังกฤษ : Torch Ginger

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Etlingera elatior  (Jack) R.M. Smith

ชื่อวงษ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะวิสัย : ไม้ล้มลุก

ลักษณะเด่นของพืช :

 ดาหลาเป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า ( rhizome) เหง้านี้ จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม ( pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม

การนำมาใช้ประโยชน์ :

ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งสารสกัดน้ำและสารสกัดเอทานอลจากส่วนดอกมีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งเต้านมชนิด MCF-7 และชนิด MDA-MB-231 ได้ดีในขณะที่สารสกัด 50% hydroglycol จากส่วนดอกดาหลา มีฤทธิ์กระตุ้นการตายของเซลล์มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา (melanoma cell) ชนิด B16 ซึ่งพบว่าประสิทธิภาพจะขึ้นกับขนาดและระยะเวลาที่ให้โดยสารสกัดมีผลทำให้เซลล์เกิดการตายแบบ apoptosis ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพัฒนาเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์สำหรับต้านมะเร็งดังกล่าว

สรรพคุณ :

ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเสีย โดยใช้กลีบดอกสดหรือแห้ง 10-15 กลีบ มาต้นน้ำดื่ม ใช้แก้ลมพิษและโดยใช้เหง้าใต้ดินโขลกผสมเหล้าโรงแล้วคั้นเอาน้ำมาบริเวณที่เป็น วันละ 2-3 เวลา  ใช้แก้ประดง แก้ผดผื่นคันตามตัว โดยใช้เหง้ามาต้มกับน้ำดื่มและใช้อาบด้วย ใช้บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ลมแน่นหน้าอบ โดยใช้หน่ออ่อน หรือ ดอกมาประกอบอาหารรับประทาน

โทษของต้นไม้ :

ผู้ที่มีประวัติการแพ้ขิง ข่า ไพล หรือพืชในวงศ์ ZINGIBERACEAE (ขิง,ข่า,ขมิ้น,ไพล) ควรเพิ่มความระมัดระวังในการรับประทานดาหลา เนื่องจากเป็นพืชวงศ์เดียวกัน ดาหลาถือเป็นพืชที่มีการนำมาใช้เป็นอาหารอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และยังมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงหากนำมารับประทานในรูปแบบของอาหาร แต่ในการนำมาใช้ในรูปแบบของสมุนไพร ก็ควรระมัดระวังของสมุนไพร ก็ควรระมัดระวังในการใช้เช่นเดียวกันกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ โดยอาจใช้ในปริมาณที่พอดีที่ระบุไว้ในตำรายาต่างๆ ไม่ควรใช้มากจนเกินไป หรือใช้ติดต่อกันนานจนเกินไป เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ สำหรับ เด็ก สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังรวมถึงผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องเป็นประจำก่อนจะใช้ดาหลาเป็นสมุนไพร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ