เปิดทำการ

วันจันทร์ - ศุกร์ : 07.30 - 16.30 น.

วันเสาร์ : 08.30 - 14.30 น.

ติดต่อสอบถาม

โทร : 0-3827-6890-4

80/90 หมู่ 3 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000

ติดต่อสอบถาม

โทร : 0-3827-6890-4

เส้นทาง : Goolge Map

เปิดทำการ

จ-ศ : 07.30 - 16.30 น.

ส : 08.30 - 14.30 น.

กรอบแนวคิดหลักสูตร



โรงเรียนประภัสสรวิทยา ชลบุรี

ได้จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐) เป็นหลักแต่มีกรอบแนวคิดที่ประยุกต์ให้เข้ากับการพัฒนาของโลกในศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งการจัดการศึกษาของแต่ละช่วงชั้นมีความแตกต่างกันตามวัยและพัฒนาการของผู้เรียน กล่าวคือ ในระดับประถมศึกษาตอนต้น (ประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓) เป็นหลักสูตรแบบบูรณาการซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน (Constructivism) สามารถตอบสนองต่อความสามารถของผู้เรียนซึ่งมีหลายด้าน เช่น ภาษาทั้งด้านภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน คณิตศาสตร์ การมองพื้นที่ ความคล่องของร่างกาย และความเคลื่อนไหวดนตรี สังคมหรือมนุษย์สัมพันธ์และความรู้และความเข้าใจตนเอง ซึ่งรวมเรียกว่า “พหุปัญญา” (Multiple Intelligences) สนองตอบต่อความสามารถที่จะแสดงออกและตอบสนองทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) และทักษะพื้นฐาน (Skill Based) ได้แก่การคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ร่วมกัน ทักษะการสื่อสาร และมีปฏิสัมพันธ์ ทั้งหมดผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ในส่วนของระดับประถมศึกษาตอนปลาย (ประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖) และมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓) เน้นให้นักเรียนค้นพบตนเอง มีความพร้อมตามทักษะที่ต้องการของคนในศตวรรษที่ ๒๑ โดยพัฒนาต่อเนื่องจากหลักสูตรประถมศึกษาตอนต้น โดยยึดเอาสมรรถนะของผู้เรียนเป็นตัวตั้งใช้เวลาและวิธีการยืดหยุ่นตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มประสิทธิภาพ ได้แก่ ทักษะการคิดอย่างมีิวิจารณญาณและ การแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving Skills) ทักษะการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม (Creativity & innovation Skills) ทักษะความเข้าใจด้านความแตกต่างทางวัฒนธรรม (Cross cultural Understanding Skills) ด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ (Collaboration, Teamwork and Leadership Skills) ทักษะการสื่อสาร สารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ (Communications, Information, and Media Literacy Skills) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Computing and ICT Literacy Skills) ทักษะอาชีพและการเรียนรู้ (Career and Learning Skills) และมีคุณธรรมจริยธรรม (Compassion) ผ่านกระบวนการเรียนรู้ด้วยโครงงาน (Project Based Learning) และ STEAM Education ในการแก้ปัญหาและประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้


รูปที่ 1

รูปที่ 2

รูปที่ 3
รูปที่ 4
รูปที่ 5



STEM/STEAM Education (ปฐมวัย/ประถม/มัธยม)

STEM/STEAM education เป็นแนวทางการสอนแบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระวิชา (Interdisciplinary Integration) ระหว่างวิชาและศาสตร์สาขาต่าง ๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ Engineering คณิตศาสตร์ (Mathematics) และศิลปะ (Arts) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้จากแขนงต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา การค้นคว้า และพัฒนาสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมต่อสถานการณ์โลกปัจจุบัน เพราะในการทำงานจริงต้องอาศัยความรู้ในหลายด้านมาผนวกกันไม่ใช่ความรู้เพียงด้านใดด้านหนึ่งอยางเฉพาะเจาะจงเท่านั้น นอกจากนี้ STEM education ยังเป็นกรอบการเรียนรู้ที่สำคัญและจะมีบทบาทต่อไปในยุคศตวรรษที่ 21 อีกด้วย

  • วิทยาศาสตร์ (Science) : การเรียนรู้ที่จะทำความเข้าใจในธรรมชาติ พร้อมทั้งกระบวนการสืบเสาะการแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
  • เทคโนโลยี (Technology) : การเรียนรู้กระบวนการ แก้ปัญหา ปรับปรุง และพัฒนาสิ่งต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ โดยผ่านกระบวนการทางเทคโนโลยี
  • คณิตศาสตร์ (Mathematics): กระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ พัฒนาทักษะการคิดรวบยอด
  • วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering): วิชาที่ว่าด้วยความคิดสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ โดยเป็นการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน
  • ศิลปะ (Arts): การใช้ความคิดสร้างสรรค์ สงเสริมจิตนาการอย่างไร้กรอบ

ได้เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ HIGH SCOPE (ระดับปฐมวัย)

การเรียนรู้รูปแบบลงมือกระทำ เพื่อส่งเสริมการคิดริเริ่มผ่านประสบการณ์ เพื่อให้เก่งคิด พินิจรอบคอบ สื่อสารเชิงบวก

LEARNING ENVIRONMENT
  • การจัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ จัดสรรพื้นที่อย่างเหมาะสมในการทำกิจกรรม
  • จัดสื่อกระตุ้นการเรียนรู้ตามวัย
ADULT-CHILD INTERACTION
  • การปฏิสัมพันธ์การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่และเด็ก "การสื่อสารเชิงบวกเพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้เด็กคิดแก้ไขปัญหา"
DAILY ROUTUNE
  • กิจวัตรประจำวันวางแผนลงมือปฏิบัติทบทวนกิจกรรมกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน
ASSESMENT
  • การประเมินผล
  • การทำงานเป็นทีมวางแผน / ตั้งเป้าหมาย
  • การประเมินพัฒนาการเด็ก



ORIGO Math (ปฐมวัย/ประถม)

The ORIGO teaching model คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวกับการใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ (1,2,3,+,-) จุดประสงค์หลักของการเรียนวิชานี้คือการเตรียมพร้อมให้นักเรียนสามารถอ่าน เขียน และตีความสัญลักษณ์ดังกล่าวได้ โดยในการเรียนรู้แบบสามัญ นักเรียนจะถูกสอนให้จดจำว่าแต่ละสัญลักษณ์ต่างก็นำเสนอแนวคิดหรือให้ความหมายที่เฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม ถึงจะทำให้นักเรียนเข้าใจว่าแต่ละสัญลักษณ์นั้นสื่อถึงอะไร แต่ด้วยความจำกัดนี้เอง ที่อาจไปลดความสามารถในการสร้างความเชื่อมโยงเพื่อปรับใช้ความรู้กับสถานการณ์ใหม่และเป็นการตีกรอบการเรียนรู้จนเกินไป ในขณะที่ ORIGO MATH นั้นแตกต่างออกไป นักเรียนจะค่อยๆเรียนรู้สัญลักษณ์ต่าง ๆอย่างช้า ๆ จากการที่นักเรียนสั่งสมประสบการณ์จากการได้สัมผัสกับประสบการณ์จริง ผ่านวัตถุ อุปกรณ์การสอนต่าง ๆ หรือสื่อ 2D ทุก ๆ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์จะถูกนำเสนอออกมาในรูปแบบของภาษาพูด (Verbal Language) ซึ่งทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจความหมายทางภาษาได้อย่างถ่องแท้และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในสถานการณ์ที่แตกต่างออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Project Approach (ปฐมวัย/ประถมต้น)

Project Approach (การสอนแบบโครงการ) เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก และตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลายของเด็ก ๆ โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้เด็กลงมือทำได้ด้วยตัวเอง การสอนแบบโครงการนี้ถือเป็นเครื่องมือการสอนที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคุณครู เพราะจะแสดงให้เห็นถึงสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่แนวคิดในเรื่องแห่งความเป็นจริง การตั้งคำถามจากความสนใจที่แท้จริง และการค้นหาคำตอบในเชิงลึกของเด็กในหัวข้อหรือเรื่องที่เด็กสนใจ แล้วยังส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการสำรวจ การสืบค้น การจดบันทึก และการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ตามเรื่องที่เด็กสนใจ ผ่านประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย ตลอดจนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สรุปออกมาเป็นชิ้นงาน การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach) ผู้สอนสามารถจัดเป็นนิทรรศการที่เป็นการสรุปความคิดรวบยอดของเด็ก ๆ ที่จะนำมาเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รู้ถึงวิธีการทำงานที่เป็นกระบวนการตามขั้นตอน นอกจากการเรียนรู้แล้ว Project Approach ยังเป็นการสอนเชิงลึกเกี่ยวกับหัวข้อในความเป็นจริงที่เด็ก ๆ มีความสนใจและพยายามสืบค้นด้วยตัวเอง ทั้งยังช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี (Youngciety, 5 กรกฎาคม 2562)



Project Based Learning: PBL (มัธยม)

Project Based Learning (PBL) เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ซึ่งเป็นรูปแบบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นและเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงประสบการณ์จากชีวิตจริงสู่การเรียนรู้ ค้นหาคำตอบด้วยการลงมือ ค้นคว้าจนได้คำตอบที่ผู้เรียนอยากรู้หรือสงสัย นอกจากนี้ยังเป็นการกระตุ้นในผู้เรียนคิดสร้างสรรค์คิดแก้ปัญหา คิดวิพากษ์

ทำไมต้องใช้ PBL
  • นักเรียนสามารถเข้าใจแนวคิดและความรู้พื้นฐานซึ่งเป้นหัวใจสำคัญในการทำโครงงาน
  • การทำโครงงานช่วยสร้างทักษะละนิสัยรักการเรียนรู้
  • นักเรียนสามารถเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งได้ก่ Collaboration, Communication, Critical Thinking
  • นักเรียนสามารถใช้เทคโนโลยี ละสามารถนำเสนองานให้กับผู้ฟังนอกเหนือจากห้องเรียน
  • PBL สามารถกระตุ้นนักเรียนให้ใส่ใจการเรียนแทนที่จะมองว่าโรงเรียนเป็นที่ที่น่าเบื่อหรือไม่มีความหมายสำหรับเขามากน้อยเพียงใด