เปิดทำการ

วันจันทร์ - ศุกร์ : 07.30 - 16.30 น.

วันเสาร์ : 08.30 - 14.30 น.

ติดต่อสอบถาม

โทร : 0-3827-6890-4

80/90 หมู่ 3 ต.เสม็ด อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000

ติดต่อสอบถาม

โทร : 0-3827-6890-4

เส้นทาง : Goolge Map

เปิดทำการ

จ-ศ : 07.30 - 16.30 น.

ส : 08.30 - 14.30 น.

ต้นยอ

ชื่อพรรณไม้ : ต้นยอ

ชื่อภาษาอังกฤษ : Indian Mulberry

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Morinda citrifolia  L.

ชื่อวงษ์ :  Rubiaceae

ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น

ลักษณะเด่นของพืช :

ไม้ต้น สูง 2-6 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออก กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี กว้าง 8-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อกลมตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลรวม ผิวขรุขระเป็นตุ่ม ผลสุกมีกลิ่นเหม็นเอียน เมล็ดสีน้ำตาลมีหลายเมล็ด ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ผลดิบ ผลสุก

การนำมาใช้ประโยชน์ :

ใบ รสขมเฝื่อน คั้นเอาน้ำสระผมแก้เหา ทาแก้ปวดตามข้อของนิ้วมือนิ้วเท้า ทาแก้โรคเก๊า ใช้เป็นยาแก้อาเจียน, ใบสดย่างไฟ หรือปรุงเป็นยาประคบ แก้ปวดบวม อักเสบ หรือต้มดื่มบำรุงธาตุ และแก้ไข้ แก้กระษัย ต้น รสเฝื่อน ใช้ร่วมกับสมุนอื่น หรือปรุงเป็นยารักษาวัณโรค ดอก รสเฝื่อน ใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น หรือปรุงเป็นยารักษาวัณโรค ผลหรือลูก รสเผ็ดร้อน ใช้ผลยอดิบที่โตเต็มที่ตากแห้ง บดเป็นผง 20 กรัม ชงในน้ำเดือด 1 ลิตร ทิ้งไว้ 15 นาที กรองใส่กระติกไว้ดื่มแทนน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคมาลาเรีย ครั้งละ 30 ซีซี ทุก 2 ชั่วโมง, ใช้ผลดิบหรือผลห่ามระงับหรือแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ผลดี แก้ลมจุกเสียด ช้ำบวม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ผสมยาแก้สะอึก อมแก้เหงือกเปื่อย ฟอกเลือด ขับน้ำคาวปลา แก้เสียงแหบแห้ง แก้อาเจียน ข่วยขับลม ขับโลหิตระดู แก้กระษัย แก้ตัวเย็น แก้ร้อนในอก ราก รสเฝื่อน เป็นยาระบาย ผสมกกับตัวยาอื่น รักษาวัณโรค แก้กระษัย

สรรพคุณ :

ใบ - มีวิตามินเอ 40,000 กว่ายูนิตสากลต่อ 100 กรัม มีคุณสมบัติในการบำรุงสายตา หัวใจ คั้นน้ำทาแก้โรคเก๊าท์ ปวดตามข้อเล็กๆ ของนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือคั้นน้ำสระผมฆ่าเหา แก้กระษัย ใช้ใบปรุงเป็นอาหาร แก้ท้องร่วง ราก - ใช้เป็นยาระบาย แก้กระษัย ใช้สกัดสีออกมา เป็นสีย้อมผ้าได้ โดยผสมส่วนของเกลือต่างๆ สามารถเปลี่ยนเป็นสีต่างๆ ได้ตามต้องการ ซึ่งสีเดิมของรากจะมีสีเหลือง หรือเหลืองปนแดง หากผสมตามส่วนด้วยเกลือ อาจจะได้สีแดง ชมพู น้ำตาลอ่อน สีม่วงแดง หรือสีดำ เป็นต้น ผลโตเต็มที่แต่ไม่สุก - จิ้มน้ำผึ้งรับประทาน มีคุณสมบัติเป็นยาขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลมในลำไส้ กระเพาะอาหาร แก้เหงือกเปื่อยเป็นขุมบวม ขับเลือดลม ขับโลหิตประจำเดือน

โทษของต้นไม้ :